เป็นวารสารวิชาการระดับชาติในบัญชีรายชื่อวารสารวิชาการของ สมศ.
และ วารสารในฐานข้อมูลของ TCI กลุ่ม 1
การศึกษาที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ 3 บทความ ได้แก่ การบัญชีต้นทุนและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจชิ้นส่วนอะไหล่ ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ Lean และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในกรณีศึกษากลุ่ม BMW นอกจากนี้ยังมีบทความในสาขาบัญชีและการเงิน ได้แก่ การสำรวจการแตกหุ้นและรวมหุ้นของบริษัทจดทะเบียน การศึกษาโครงสร้างหุ้นในสภาวะวิกฤติซับไพรม์ ตัวแปรการลงทุนของประเทศในกลุ่มอาเซียน และบทความในกลุ่มการบริหารจัดการ ได้แก่ การประเมินศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ SME ประเภทรองเท้า การศึกษาบริการของการท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ และการสำรวจค่านิยมในสังคมไทย
กองบรรณาธิการ | |
ศ.ดร.มณีวรรณ ฉัตรอุทัย |
บรรณาธิการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
รศ.ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา |
กรรมการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ศ.ดร.พรชัย ชุนหจินดา |
กรรมการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
รศ.ดร.ปรีชา จรุงกิจอนันต์ |
กรรมการ ที่ปรึกษาองค์กร |
Prof. Dr. Gary N.McLean |
กรรมการ University of Minnesota, USA |
Prof. Dr. David Ding |
กรรมการ Massey University, New Zealand |
นางวรรณี กาญจนวงศ์ |
รองบรรณาธิการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
นางศิริมา แสงมนุษย์ |
ผู้ช่วยบรรณาธิการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Mr.Wayne Shibata |
ผู้ช่วยบรรณาธิการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วัตถุประสงค์
รูปแบบการนำเสนอบทความสำหรับวารสารบริหารธุรกิจ นิด้า
1. การจัดหน้า ขนาด 8" x 10 ½"
ให้ห่างจากขอบซ้ายและขอบขวา 2.5 ซม. ขอบบน 2.5 ซม. ขอบล่าง 2 ซม. ระยะบรรทัดห่าง 19P
2. ชื่อเรื่อง
บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Font : TH SarabunPSK_Bold ขนาด 21P ตัวหนา
บทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : TH SarabunPSK_Bolf ขนาด 23P ตัวหนา
และจัดให้อยู่กลางหน้ากระดาษและห่างจากขอบบน 4.5 ซม. (ระยะบรรทัดห่าง 22P)
3. ชื่อผู้เขียนบทความ
เว้น 1 ระยะบรรทัด (ระยะบรรทัดห่าง 22P) จากชื่อเรื่องในหน้าแรก ชิดขอบขวา
และมี * ต่อท้ายชื่อ - นามสกุล เฉพาะหน้าแรก
ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Font : TH SarabunPSK_Bold ขนาด 16 ตัวหนา
ภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : TH SarabunPSK_Bold ขนาด 16 ตัว หนา
4. บทคัดย่อ ABSTRACT (ประมาณ 1/2 หน้า แต่ไม่เกิน 3 ใน 4 หน้า)
ภาษาไทยใช้ Font : TH SarabunPSK_Bold 18P
ภาษาอังกฤษใช้ Font : TH SarabunPSK_Bold 18P
โดยห่างจากชื่อผู้เขียน 1 ระยะบรรทัด ส่วนเนื้อหา (19P)
รายละเอียด ให้ห่างจากคำบทคัดย่อ 1 ระยะบรรทัด (20P)
5. หัวข้อบทความ จัดให้อยู่ชิดซ้าย
ภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร Font : TH SarabunPSK_Bold ขนาด 18 ตัวหนา
ภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร ภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : TH SarabunPSK_Bold ขนาด 18 ตัวหนา
6. บรรทัดเนื้อหารายละเอียด
บรรทัดแรกให้ห่างจากหัวข้อ 1 บรรทัดพิมพ์ แต่การพิมพ์เนื้อหาทั่วไป บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร ภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : TH
SarabunPSK_Bold ขนาด 16 ตัวปกติ และการเว้นระยะการพิมพ์ให้ใช้ระบบ 1 (ระยะบรรทัดห่าง 19P)
สำหรับบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร ภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : TH SarabunPSK_Bold ขนาด 16 ตัวปกติ
ย่อหน้าของบทความ เคาะวรรค 5 ตัวอักษร
7. ตารางหรือกราฟ
ถ้ามีตารางหรือกราฟ ให้พิมพ์คำว่า Table 1 หรือ Figure 1 ด้วยตัวพิมพ์หนา เว้น 1 ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์ชื่อตาราง
ส่วนชื่อให้พิมพ์ด้วยปกติขนาด 16P ส่วน
รายละเอียดของตารางและรูปดูตามความเหมาะสม โดยถ้ามีหมายเหตุและแหล่งที่มาให้พิมพ์ที่ท้ายตาราง
8. Footnote
พิมพ์ต่อท้าย Paper ระยะบรรทัดห่าง 12P
ภาษาอังกฤษใช้ Font : TH SarabunPSK_Regular ขนาด 12 ตัวปกติ
สำหรับบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร Font : TH SarabunPSK_Regular ขนาด 12 ตัวปกติ
9. บรรณานุกรม ใช้ Font : TH SarabunPSK_Bold ขนาด 18 ตัวหนา ชิดซ้าย
อยู่หน้าสุดท้ายของบทความ โดยชื่อเรียงลำดับอักษร ภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ บรรทัดแรกชิดซ้าย บรรทัดต่อไป TAB 0.5 ซม. เนื้อหารายละเอียด ใช้ Font : TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวปกติ ระยะบรรทัด 19P
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจ นิด้า
วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย
(Thai-Journal Citation Index Center (TCI)
อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
1. วารสารบริหารธุรกิจนิด้า (NIDA Business Journal) เปิดรับบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีกำหนดการออกวารสารปีละ 2 ฉบับในเดือนพฤษภาคม และพฤศจิกายน
2. เรื่องที่จะส่งมาเพื่อพิจารณาต้องเป็นงานวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และศาสตร์การบริหารการจัดการ
3. บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ต้องเป็นประเภทบทความวิจัย (Research Article) ที่ประกอบด้วย
รวมถึงบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) และบทวิจารณ์บทความ (Article Review)
4. บทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ต้องจัดทำโดยผู้เขียนที่มีความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณการวิจัยอย่างเหมาะสม และจะได้รับการประเมินจากกองบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความอย่างน้อย 2 คน (Double-Blind Peer Review) จากภายในและภายนอกสถาบัน โดยผลพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นสิ้นสุด
5. บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ทั้งนี้สาระและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
6. บทความต้องมีองค์ประกอบ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ได้แก่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนทุกคน คำสำคัญ หรือ Keywords จำนวน 3 – 5 คำ และบทคัดย่อ ความยาวระหว่าง 150 – 250 คำ พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) คุณวุฒิสูงสุด และสถานที่ทำงานของผู้เขียนทุกคน
7. ต้นฉบับต้องพิมพ์บนกระดาษ A4 แบบหน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 25 หน้า ใช้อักษร TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้นฉบับ 1 ชุด ส่งให้กองบรรณาธิการวารสารทางไปรษณีย์ หรือ E-mail : [email protected]
8. การเขียนเอกสารอ้างอิงให้ใช้การอ้างอิงระบบ APA Style เรียงลำดับตัวอักษร
ตัวอย่างการอ้างอิง
หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์) ชื่อเรื่อง
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูง SPSS. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บทความในวารสาร
ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ
ปีเตอร์ รักธรรม. (2554). รูปแบบในการดำเนินธุรกิจระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย เพื่อเตรียมการเข้าร่วมสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน, วารสารบริหารธุรกิจ, ฉบับที่ 78 (กรกฎาคม – กันยายน), หน้า 129 – 139.
เว็บไซต์/แหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์) ชื่อเรื่อง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2552). คู่มือการเข้าจดทะเบียนใน SET และ mai
(Going Public Guide) : 1 – 36 สืบค้นวันที่ 8 มีนาคม 2557 จาก
https://www.set.or.th/thproducts/listing/files/Going_Public_Guide.pdf
จากแหล่งอื่นๆ
ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์) ชื่อเรื่อง
นิลวรรณ ฟู่เฟื่องสิน. (2554). 10 ปีข้างหน้าจีนยังคงเป็นผู้นำเข้ายางธรรมชาติรายใหญ่.
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้. 1 – 2.
9. สำหรับการอ้างอิงเอกสารภาษาไทยให้มีการเพิ่มรายการอ้างอิงโดยการแปลรายการอ้างอิงภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ (Translated Thai Reference)
ตัวอย่างการอ้างอิง
ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์) ชื่อเรื่อง
มณีวรรณ ฉัตรอุทัย. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบและสำรวจมิติทางวัฒนธรรมในบริบทประเทศไทย และกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก. วารสารบริหารธุรกิจนิด้า, ฉบับที่ 16, (พฤษภาคม), หน้า 60 – 81.
10. กองบรรณาธิการและผู้ประเมินขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาบทความที่ไม่เข้าเกณฑ์การประเมิน รวมทั้งไม่มีข้อผูกมัดที่จะต้องตีพิมพ์ทุกบทความที่เสนอเข้ามาพิจารณา
สถานที่ติดต่อ
กองบรรณาธิการ
คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาคารบุญชนะ อัตถากร ชั้น 8
118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02 – 7273961, 02 - 7273949
โทรสาร 02 – 3743282, 02 – 3753924
ดาวน์โหลดไฟล์ : คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจ นิด้า