Top

โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกของ NIDA

ประวัติของโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก

จากความร่วมมือขององค์กรระดับชาติ 4 แห่ง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) หลักสูตร RGJ-PhD ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยมีพันธะกิจในการผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอก นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโครงการได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกทุกปีรวมกว่า 300 ทุน จนกลายเป็นหลักสูตรหลักในการฝึกอบรมของนักวิจัยและที่รู้จักเป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์

  1. สร้างบัณฑิตและผลงานวิจัยระดับปริญญาเอกให้มีจำนวนมากขึ้นโดยมุ่งเน้นผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล
  2. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยชาวไทยและชาวต่างชาติ
  3. เสริมสร้างความแข็งแกร่งในระดับบัณฑิตศึกษาแก่ระบบมหาวิทยาลัยของไทย
  4. ประหยัดงบประมาณในการไปศึกษาต่อปริญญาเอกต่างประเทศ

เป้าหมาย RGJ

  • ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2541 - 2555): เพื่อผลิตนักวิจัยปริญญาเอกจำนวน 5,000 คน และตีพิมพ์ 5,000 ฉบับ
  • ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2551 - 2565): เพื่อผลิตนักวิจัยปริญญาเอกจำนวน 20,000 คน และตีพิมพ์ 20,000 ฉบับ]

Link :: https://rgj.trf.or.th.

คณาจารย์ประจำจำนวน 5 ท่าน ที่สามารถดูแลนักศึกษาในนามของโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกมีขอบเขตอยู่ในพื้นที่การวิจัยดังนี้:

1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

  • การจัดการโครงการด้านไอที, ประเทศไทย 4.0, กลุ่มนวัตกรรม, อาชญากรรมไซเบอร์, การวิจัยเชิงคุณภาพ 
    (รศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ)
  • Business Intelligence / Analytics
    (ผศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล)

2. การจัดการระบบการดำเนินงาน

  • ความสามารถในการแข่งขัน / การรวมกลุ่ม / นวัตกรรม
    (รศ.ดร.อนุกัลยณ์ จีระลักษณกุล)
  • การกำหนดกลไกราคา, สัญญาห่วงโซ่อุปทาน
    (ผศ.ดร.ธัญรัตน์ อมรเพชรกุล)

3. การจัดการ

  • กลยุทธ์, ความสามารถ, การถ่ายโอนความรู้
    (ผศ.ดร.อัษฎา จินตกานนท์)

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • ผู้สมัครมีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50
  • คะแนน TOEFL 550 หรือสูงกว่า
  • ดำเนินการวิจัยทางวิชาการในสาขาวิชาภายใต้การกำกับดูแลของคณาจารย์หลักสูตร
  • สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรได้เต็มเวลา และสามารถรักษาระดับผลการเรียนให้คงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ (สำหรับผู้ที่พร้อมจะทำงานใกล้ชิดกับคณาจารย์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)

รายละเอียดของทุนการศึกษา

  • เงินสนับสนุนรายเดือน
  • เงินค่าเล่าเรียน
  • ค่าใช้จ่ายการศึกษาในต่างประเทศ
  • สนับสนุนการวิจัย

ดาวน์โหลด

ยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารและหลักฐานด้วยตนเองหรือส่งเอกสารได้ที่

คุณอินทิรา เจษฎาพิทักษ์ กลุ่มงานการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ อาคารบุญชนะ อัตถากร ชั้น 8
โทรศัพท์ 02 727 3937 , 02 727 3844
อีเมล : [email protected] / [email protected]
ในวันและเวลาราชการ (08.30 น. - 16.00 น.)